อารมณ์เป็นส่วนที่มีความสำคัญในกระบวนการซื้อของผู้บริโภค เมื่อคุณได้รับเนื้อหาหรือโฆษณาจากแบรนด์จะส่งผลอย่างมากต่อการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์นั้น โดยจะส่งอิทธิพลต่อความรู้สึกทั้งในส่วนของความน่าเชื่อถือ, ความเชื่อมั่น, ความกังวลและความไม่ชอบ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ลูกค้าจะตอบสนองแตกต่างกันไป

อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจตอนซื้อสินค้า เราจึงสามารถใช้การดึงดูดทางอารมณ์, การสร้างแบรนด์และการวางตำแหน่ง ร่วมกันเพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการตัดสินใจซื้อได้ ซึ่งหากเรามีตัวเลือกในการซื้อให้กับลูกค้าจะทำให้เกิดการตัดสินใจได้เร็วขึ้นหรืออาจทำให้ลูกค้าลดความรอบคอบในการพิจารณาด้วยข้อเท็จจริงให้น้อยลง

 

ทั้ง ๆ ที่มีวิวัฒนาการและการพัฒนาเกี่ยวกับความคิดมากมายแต่ในความเป็นจริงมนุษย์เราก็ยังคงใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ

 

การไม่พิจารณาเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียและไม่วิเคราห์ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจซื้อ จะทำให้ได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกพื้นฐานจากสมอง

ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการเชื่อมโยงทางอารมณ์กับลูกค้า

ตามที่ Douglas Van Praet ผู้เขียน Unconscious Branding: How Neuroscience Can Empower (and Inspire) Marketing ได้กล่าวไว้ว่า

 

Emotion_pic_01.jpg

 

ความหมายของนักการตลาดที่ต้องการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหรือต้องการได้ผลประโยชน์จาก Lead คืออะไร?

หมายความว่าผู้ซื้อต้องการถูกดึงดูดความสนใจจาก "buyer persona’s” (ตัวแทนลูกค้าในอุดมคติ) ซึ่งเป็นสัญชาตญาณที่เมื่อคนเห็นสิ่งที่ตัวเองต้องการแล้วจะดำเนินการบางอย่าง

ConversionXL ได้มีการโพสต์บทความที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับสิ่งเร้าทั้ง 6 อย่างจาก neuromarketing (การตลาดโดยใช้ประสาทวิทยา) ที่สามารถกระตุ้นการพูดกับสมองส่วน Old brain” ได้แก่

  • ธรรมชาติในการเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางของสมองส่วน Old brain
  • ความอ่อนไหวเกี่ยวกับความชัดเจนของสมองส่วน Old brain
  • การรักในสิ่งที่คุ้นเคยของสมองส่วน Old brain
  • การตอบสนองต่อการเริ่มต้นและตอนสุดท้ายของสมองส่วน Old brain
  • ความสัมพันธ์กับภาพของสมองส่วน Old brain
  • การตอบสนองต่อการโน้มน้าวทางอารมณ์ของสมองส่วน Old brain 

  

 

  

วิธีการใช้อารมณ์ในการตลาด

เรื่องของอารมณ์จะมีส่วนช่วยอย่างไร เมื่อคุณได้รับเนื้อหาจากสื่อต่าง ?

จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Glasgow ได้แนะนำเกี่ยวกับความรู้สึกหลักทั้ง 4 อย่าง คือ ความสุข, ความเศร้า, ความกลัว/ประหลาดใจ, ความโกรธ/รังเกียจ 

หากเข้าใจอารมณ์เหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเอาตัวรอดจากการโฆษณาในชีวิตประจำวันได้และเราควรใส่ใจกับเรื่องของอารมณ์เหล่านี้เมื่อต้องการส่งเนื้อหาออกไป

เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยผลิตภัณฑ์ที่ขายอยู่ตามสื่อต่าง


เนื้อหาในเชิงบวกเมื่อเทียบกับเนื้อหาเชิงลบ

 

***ความสุข = ได้รับการแชร์เนื้อหามากขึ้น 

เนื้อหาที่ถูกแชร์ออกไปนั้นแสดงให้เห็นว่าบทความในเชิงบวกนั้นจะได้รับการแชร์ออกไปมากกว่าบทความที่มีหัวข้อที่เกี่ยวกับความทุกข์หรือความเศร้า ในฐานะของนักการตลาดคุณสามารถสร้างประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้นจากการเน้นที่เนื้อหาเกี่ยวกับข่าวเชิงบวกหรืออาจปรับเนื้อหาไปตามธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของคุณ



ความเศร้า = ได้รับการคลิกมากขึ้น 

จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเนื้อหาที่มีความหมายในเชิงลบมีแนวโน้มที่จะดึงดูดการคลิกและการใช้จ่ายได้มากขึ้น โดยข้อมูลจาก Outbrain พบว่าเนื้อหาเชิงลบสามารถดึงดูดความสนใจได้มากขึ้นถึง 30% ซึ่งมากกว่าหัวข้อแบบอื่น 

สรุปแล้วส่วนที่สำคัญที่สุดคือข่าวในเชิงลบจะทำให้ได้รับการคลิกและการอ่านแต่ในส่วนของข่าวที่เกี่ยวกับความสุขนั้นจะทำให้ได้รับการแชร์ที่มากยิ่งขึ้น



ความกลัว / ประหลาดใจ

ความกลัวเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่ช่วยให้เราสามารถตอบโต้กับภัยคุกคามและเพิ่มโอกาสในการอยู่รอด ซึ่งสามารถนำมาใช้สร้างความเร่งด่วนและเป็นการแจ้งเตือนให้เราดำเนินการบางอย่าง

มีสิ่งหนึ่งที่การโฆษณาควรยึดเป็นหลักก็คือ ความสุข



ความโกรธ / รังเกียจ

คนส่วนใหญ่คงไม่ต้องการมี "ความโกรธ" - ซึ่งอารมณ์ด้านลบนี้จะทำให้เกิดความหมายที่มีนัยในเชิงลบ แต่ในทางกลับกันความโกรธก็สามารถปลุกเร้าและกระตุ้นผู้คนให้ดำเนินการบางอย่าง ทั้งนี้อารมณ์ในเชิงลบบางอย่างก็อาจใช้สร้างกระแสแบบไวรัลให้กับเนื้อหาได้น้อยกว่าอารมณ์ในเชิงบวกที่สามารถทำให้เป็นกระแสได้ในชั่วข้ามคืน

https://blog.hubspot.com/marketing/emotions-in-advertising-examples

  

 

 

เรื่องนี้เกี่ยวกับความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างไร

คุณสามารถดึงดูดอารมณ์ของผู้คนเพื่อเพิ่มความสำเร็จตามเป้าหมายและเพิ่มยอดขายได้ โดยนี่ไม่ใช่แค่เรื่องที่เกี่ยวกับจำนวนการคลิกหรือการแชร์เท่านั้น

สมองซีกขวาสื่อสารด้วยความรู้สึกและรูปภาพโดยทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอารมณ์ ซึ่งตอบสนองต่อการนำเสนอด้วยรูปภาพที่สร้างอารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้นกับการตลาดของคุณ

เมื่อเข้าใจสมองในแต่ละส่วนว่าจะมีการใช้อารมณ์ร่วมในการการตัดสินใจบางอย่าง นักการตลาดจึงสามารถดึงดูดความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มโอกาสในการขายได้

หากต้องการประสบความสำเร็จทางการตลาด แบรนด์จำเป็นต้องตระหนักถึงตัวตนของพวกเขาและมุ่งเน้นไปที่แนวทางที่มีเหตุผล แบรนด์ที่ใช้วิธีการทางอารมณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและผลิตภัณฑ์ ดังนั้นโฆษณาของแบรนด์จึงเต็มไปด้วยตัวกระตุ้นอารมณ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของลูกค้า

ในที่สุดผู้บริโภคจะซื้อสินค้าหรือแบรนด์ที่มีความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับพวกเขา ดังนั้นสำหรับแบรนด์แล้วการสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันทางอารมณ์ต่อผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

 

โพสต์โดย
โพสต์โดย
Sales Director
“พี่โอ๋” เป็นที่รักและเคารพจากทุกคนในทีม โดยเป็นผู้ควบคุมและจัดการทีมฝ่ายขายของ Taximail ให้มีทักษะในการพัฒนาความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีกับลูกค้า ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้สามารถทำงานร่วมกับทีมและลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ขยายธุรกิจของคุณด้วย
อีเมลมาร์เก็ตติ้ง

เริ่มต้นได้ฟรี