โซเชียลคอมเมิร์ซหรือการค้าขายในโซเชียลมีเดียคืออะไร และทำไมคุณถึงควรใช้?

 

ในยุคที่ผู้คนใช้โทรศัพท์อยู่ตลอดเวลาเพื่อเช็คความเคลื่อนไหวและมีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดียมากกว่าหนึ่งสื่อ สิ่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราทุกวัน ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม

  

มีคนจำนวนมากที่กำลังออนไลน์อยู่ แต่มีแค่บางคนที่มีความรู้เรื่องโซเชียลคอมเมิร์ซ... 

เป็นเรื่องอัศจรรย์และน่าตื่นเต้นที่อัตราการขยายตัวของโซเชียลมีเดียทั่วโลกสูงขึ้นเกือบ 54%

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียกำลังค้นหาเนื้อหาต่าง ๆ ที่ตลกหรือสนุกสนาน โดยมีการแบ่งปันรูปภาพและวิดีโอกับเพื่อน ๆ โซเชียลมีเดียจึงเป็นสื่อกลางสำหรับทำให้ผู้คนเกิดความใกล้ชิดและสามารถติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้

ตั้งแต่ช่วงปี 2019 ถึง 2020 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีการใช้งานโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 145 นาทีต่อวัน

ภาพแสดงเวลาโดยเฉลี่ยที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกใช้เวลากับโซเชียลเน็ตเวิร์กตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2020  (หน่วยเป็นนาที)

Daily_social_media_usage_600.jpg

Source: Statista

 

โซเชียลคอมเมิร์ซมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์ที่สามารถทำให้เกิดการโต้ตอบกันในสังคม โดยที่ผู้ใช้งานสื่อออนไลน์เป็นผู้สนับสนุนการซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ

เว็บไซต์โซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ เช่น Facebook, Instagram, Twitter และอื่น ๆ เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการส่งเสริมและขายผลิตภัณฑ์และบริการให้กับผู้ชมจำนวนมาก

คาดว่าขนาดของตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซทั่วโลกจะสูงถึง 1,948.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2026 และคาดการณ์อัตราการเติบโตทางการตลาด (CAGR)  สูงถึง 29.4%

ยิ่งไปกว่านั้นจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้โซเชียลคอมเมิร์ซทั่วโลกยังคงเติบโตต่อไป เนื่องจากผู้ซื้อจำนวนมากจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในโลกดิจิทัล

นี่คือกลยุทธ์การตลาดสำหรับโซเชียลมีเดียที่คุณสามารถใช้ได้

  • เพิ่มทางเลือกเฉพาะบุคคลให้กับผู้ซื้อ
  • ทำแบบสำรวจออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์
  • กราฟิกดีไซน์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดการคลิก
  • ใช้วิดีโอเพื่อแสดงผลิตภัณฑ์
  • กระตุ้นให้เกิดการแชร์รูปภาพ, คอมเมนท์ และการตอบกลับ
  • เชื่อมต่อโดยตรงกับสินค้าหรือการชำระเงิน
  • ให้ของแถม, ส่วนลดหรือโปรโมชั่น

ประเทศไทยอยู่ใน 20 อันดับแรก ที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก

Internet_Top_20_Countries_600.jpg

Source: internetworldstats

  

 

  

โซเชียลคอมเมิร์ซในประเทศไทย

จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) คนไทยใช้เวลาโดยเฉลี่ย 3.5 ชั่วโมงต่อวันบนโซเชียลมีเดียกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย 3 อันดับแรก ได้แก่ Facebook, Line และ YouTube

จากข้อมูลของนายกสมาคมอีคอมเมิร์ซไทย คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา กล่าวว่าโซเชียลคอมเมิร์ซกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นมูลค่าทางธุรกรรม 1.5 แสนล้านบาทจากแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซเมื่อปี 2017

จากการสัมภาษณ์ครั้งก่อนของ John Wagner กรรมการผู้จัดการ Facebook Thailand เมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 มีคนแชร์รูปภาพมากกว่า 17 พันล้านภาพและ 400 ล้านคนใช้การแชทด้วยเสียงและวิดีโอบน Facebook

เขาเสริมว่า Facebook ให้บริการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับคนไทยในการค้นหาข้อมูล, เรียนรู้และเชื่อมต่อผู้คนในสังคม โดยผู้บริโภคไทยอยู่ในระดับแนวหน้าในด้านการมีส่วนร่วมทางดิจิทัล ในขณะที่ธุรกิจ SMEs ไทยเป็นผู้นำของโลกในโซเชียลคอมเมิร์ซและนวัตกรรม

Source: Nation Thailand

 

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซโดดเด่นในประเทศไทยคือแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) โดยไทยเป็นประเทศที่มีประชากรมากถึง 80% ที่มีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดียนี้ และใช้เวลาเฉลี่ยถึง 2.48 ชั่วโมงต่อวัน

คุณเลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายอีคอมเมิร์ซของไลน์ระบุว่าอีคอมเมิร์ซของไทยมีมูลค่า 2.7 แสนล้านบาทโดย 62% มาจากโซเชียลคอมเมิร์ซที่ทำการขายและซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรวมถึงไลน์

ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน LINE OA ที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านคนในไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว ซึ่งมี 40% ที่ใช้ OA เพื่อการค้าและส่วนที่เหลือใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ซึ่งการสนทนาผ่านไลน์นั้นสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ขายได้

Source: Bangkok Post

 

การเพิ่มขึ้นและความนิยมของโซเชียลคอมเมิร์ซยังคงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการปรับตัวและพัฒนาไปตามกระแสของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นวัตกรรมของโซเชียลมีเดียก้าวไปไกลกว่าที่จะเป็นเพียงการสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคโดยใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย อีกทั้งยังสามารถดึงดูดและแฝงการขายไว้ได้อย่างแนบเนียนในขณะที่ลูกค้ามีส่วนร่วม

 

 

 

ประเด็นที่สำคัญ:

1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยแพลตฟอร์มที่เหมาะสม

โซเชียลมีเดียเป็นมากกว่าการสังสรรค์กับเพื่อนและครอบครัว ผู้คนต่างมีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดียจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น จากการดูสินค้าหรือแบรนด์ที่ชื่นชอบ, ดูสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ, ส่งข้อความถึงเพื่อนเพื่อขอความคิดเห็น ซึ่งปัจจัยการมีส่วนร่วมทั้งหมดนี้สามารถทำให้เป็นส่วนเดียวกันในขณะที่กำลังช้อปปิ้งหรือซื้อสินค้าได้

2. สร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นในการซื้อสินค้า

ขั้นตอนเล็ก ๆ น้อย ๆ ในกระบวนการการซื้อของลูกค้านั้นมีความสำคัญต่อแบรนด์และบริษัท โดยการสร้างประสบการณ์ในการซื้อที่ราบรื่น, ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสนอวิธีการซื้อที่ง่ายสำหรับลูกค้า จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้น

3. ใช้ประโยชน์จากโซเชียลคอมเมิร์ซ

ถึงเวลาเข้าร่วมมหกรรมทางการขายแล้ว ปัจจุบันมีโซเชียลคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดต่าง ๆ โดยมีผู้บริโภคจำนวนมากที่เริ่มคุ้นเคยกับการซื้อทางออนไลน์และการซื้อผ่านช่องทางโซเชียลโดยตรง ดังนั้นคุณควรใช้โอกาสนี้ทดลองดูว่าช่องทางโซเชียลใดที่มีความเหมาะสมกับคุณและลูกค้า ซึ่งทุกแบรนด์รวมทั้ง SMEs จะต้องปรับตัวให้ทันในยุคโซเชียลนี้

การสร้างช่องทางโซเชียลต่าง ๆ เช่น Facebook, LINE app, Telegram, WeChat, Whatsapp, Instagram, Tiktok ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการทำโซเชียลคอมเมิร์ซของคุณ

สำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาในขั้นถัดไป ควรทำการทดลอง, เรียนรู้นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการแชตและการใช้แชตบอทเพื่อช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า

 

โพสต์โดย
โพสต์โดย
Sales Director
“พี่โอ๋” เป็นที่รักและเคารพจากทุกคนในทีม โดยเป็นผู้ควบคุมและจัดการทีมฝ่ายขายของ Taximail ให้มีทักษะในการพัฒนาความสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีกับลูกค้า ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้สามารถทำงานร่วมกับทีมและลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ขยายธุรกิจของคุณด้วย
อีเมลมาร์เก็ตติ้ง

เริ่มต้นได้ฟรี